หนังสือเล่มนี้จะสอนให้เรานำ OKRs มาแก้ปัญหาการตั้งเป้าหมายแต่ไม่เคยทำสำเร็จ ด้วยการปรับใช�
Personal OKRs ชีวิตจะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ถ้าวัดผลได้เป็นระบบ
- หนังสือ “Personal OKRs ชีวิตจะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ถ้าวัดผลได้เป็นระบบ” เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ นักเขียนและพอดแคสเตอร์ชื่อดังจากช่อง Noppadol’s story ที่นำ OKRs เครื่องมือวัดผลขององค์กรมาปรับใช้กับชีวิตส่วนตัว
- หนังสือเล่มนี้จะสอนให้เรานำ OKRs มาแก้ปัญหาการตั้งเป้าหมายแต่ไม่เคยทำสำเร็จ ด้วยการปรับใช้ให้เกิดการสร้างเป้าหมายที่ดีและวิธีวัดผลที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
- เริ่มตั้งแต่ตอบคำถามว่าOKRs คืออะไร และทำไมเป้าหมายที่ผ่านมาถึงไม่ได้ผล? วางพื้นฐานด้วยการสร้างคุณค่า พันธกิจ วิสัยทัศน์ พร้อมด้วยไกด์ไลน์ที่ละเอียดว่าเราจะสร้าง OKRs ยังไงให้เหมาะกับชีวิตเรา
หนึ่งในปัญหาที่หลายคนประสบในชีวิต คือตั้งเป้าหมายไว้แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้สักที เขียน New Year’s resotutions เป็นสิบๆ อย่าง แต่ฟิตได้แค่เดือนสองเดือนก็หมดไฟ หลายคนอาจคิดว่าปัญหาหลักมาจากการขาดวินัยของตนเอง จนพาลหมดไฟไม่กล้าทำอะไร
ขาดวินัยก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การขาดการตั้งเป้าหมายที่ดีและวิธีวัดผลที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบก็เป็นอีกตัวการหนึ่งที่ทำให้เราทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง
‘Personal OKRs ชีวิตจะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ถ้าวัดผลได้เป็นระบบ’ คือหนังสือที่จะมาช่วยเราแก้ปัญหาการตั้งเป้าหมายแล้วทำไม่สำเร็จได้อย่างตรงจุดด้วยวิธีที่หลายคนคาดไม่ถึงมาก่อน นั่นก็คือการใช้ OKRs หรือ Objective and Key results เครื่องมือวัดผลอันโด่งดังที่สร้างความสำเร็จให้หนึ่งในบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Google มาแล้ว
หลายคนอาจสงสัยว่าปกติแล้ว OKRs เขาใช้วัดผลการทำงานในองค์กรไม่ใช่เหรอ แล้วจะเอามาใช้กับชีวิตได้หรือ?
คำตอบคือได้ และทำได้ดีด้วย พิสูจน์โดยเรื่องราวความสำเร็จของผู้เขียน ศาสตราจารย์ ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ นักเขียนและพอดแคสเตอร์ชื่อดังจากช่อง Noppadol’s story ที่นำ OKRs ไปปรับใช้กับตนเองจนสร้างชีวิตที่ดี มีความสุข และตรงตามเป้าหมายที่แท้จริงได้มากขึ้นเรื่อยๆ
แนวคิดหนึ่งในหนังสือเล่มที่เราชอบมากและอยากให้ทุกคนจำไว้ก่อนเปิดหนังสือเล่มนี้คือ ไม่มีใครสามารถการันตีความสำเร็จของใครในการใช้เครื่องมือหรือวิธีการใดๆ ได้ แต่ถ้าการลองทำนั้นไม่เสียหาย ไม่เกิดผลเสีย ก็ดีกว่าจะนั่งนิ่งๆ แล้วไม่เริ่มลองทำอะไรเลย เพราะแค่การได้ลองทำก็อาจถือว่าเป็นความสำเร็จอีกขั้นแล้ว
OKRs คืออะไร และทำไมเป้าหมายที่ผ่านมาถึงไม่ได้ผล?
คอนเซ็ปต์ของ OKRs นั้นไม่ต่างจากเป้าหมายที่เราพูดกันว่า ฉันยากจะผอม จะรวย จะเรียนเก่งเลย และก็ไม่ต่างจากปณิธานปีใหม่ที่เราตั้งทุกวันอีกด้วย เราต่างเคยทำ OKRs โดยที่เราไม่รู้ตัวมาแล้วทั้งนั้น (แม้จะไม่ได้ทำตามแบบ OKRs เป๊ะๆ แต่ก็มีการตั้งเป้าหมายชีวิตกันบ่อยแน่นอน)
คำถามคือแล้วทำไมมันไม่ได้ผลล่ะ? หลังจากอธิบาย OKRs ให้เราเข้าใจแจ่มแจ่งถึงที่มาและแนวคิดของเครื่องมือนี้แล้ว หนังสือเล่มนี้จะตอบคำถามนี้ให้เราฟังต่อ ถ้าให้แอบ spoil แบบย่อๆ ก็คือเพราะเป้าหมายที่ผ่านมาที่เราตั้งมันอาจจะไม่เหมาะสม เยอะไป น้อยไป ไม่ตรงกับสิ่งที่ชอบ สิ่งที่เรายึดถือ และความฝันจริงๆ นั่นเอง
Business vision and innovation
คุณค่า (Value) พันธกิจ (Mission) วิสัยทัศน์ (Vission) คำถามต่อมาคือ แล้วสิ่งที่ชอบ สิ่งที่เรายึดถือ และความฝัน คืออะไร
หลายคนอาจใช้ชีวิตมาโดยไม่รู้เลยว่าเรามีหลักยึดอะไร หรือไม่สามารถบอกได้ว่าทำอะไรแล้วมีความสุข
สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เรายึดถือ และความฝัน นั้นมีชื่อเรียกในหนังสือเล่มนี้ว่าคุณค่า พันธกิจ และวิสัยทัศน์ของตัวเอง
การหาสิ่งเหล่านี้ไม่เจอนั้นทำให้คุณรู้สึกว่าชีวิตไม่มีเป้าหมาย เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าใช้ชีวิตเพื่ออะไร ทำให้คุณไม่มี OKRs ที่ดีนั่นเอง
หนังสือเล่มนี้จะเริ่มต้นวางรากฐานให้คุณตั้งแต่พาคุณค่อยๆ หาคุณค่า พันธกิจ และวิสัยทัศน์ในชีวิตคุณให้เจอ ไม่รีบร้อน ค่อยเป็นค่อยไป ทำไปพร้อมๆ กัน
ซึ่งเมื่อเจอแล้ว คุณก็จะสามารถสร้างเป้าหมายในชีวิตหรือ OKRs ที่ดีให้ตัวเองได้นั่นเอง
สร้าง OKRs ยังไงให้เหมาะกับชีวิตเรา
หนังสือเล่มนี้มีทุกอย่างที่หนังสือ How to ควรมี ทั้งไกด์ไลน์อย่างละเอียดรวมถึงคำอธิบายที่ไขข้อสงสัยในการสร้าง OKRs ที่หลายคนอาจไม่คิดว่ามาก่อนว่านอกจากใช้ทำงานแล้วยังมาปรับใช้กับชีวิตได้
ผู้เขียนเสนอไว้ว่า OKRs ที่เหมาะกับชีวิตเราควรมี 3 แบบ ระยะยาว 3 ปี ระยะกลาง 1 ปี และระยะสั้น 3 เดือนหรือ 1 ไตรมาส
โดยในหนังสือจะมีไกด์ไลน์อย่างละเอียดรวมถึงเทมเพลทให้คุณค่อยๆ สร้าง OKRs ไปพร้อมๆ กับการอ่านหนังสือเล่มนี้ได้เลย อ่านจบปุ๊บก็สามารถมี OKRs ที่พร้อมใช้งานได้ทันที
แต่ที่เราชอบเป็นพิเศษคือการที่ผู้เขียนเน้นย้ำอยู่เสมอว่าทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม สามารถยืดหยุ่นได้ และเปลี่ยนตามใจได้หากเจอวิธีที่เหมาะสมมากกว่า
แต่ก็อย่าลืมที่จะคิดทบทวนและถามตัวเองให้แน่ใจทุกขั้นตอนว่าเรากำลังสร้าง OKRs สำหรับเป้าหมายที่ใช่ และใช้วิธีที่เหมาะกับเราจริงๆ และถึงแม้จะไม่สามารถการันตีได้ว่าจะสำเร็จและเหมาะกับทุกคน
แต่การลองทำ OKRs ในแบบของผู้เขียนก็ไม่ได้สร้างความเสียหายหรือลำบากอะไร
Readify จึงอยากสนับสนุนให้ทุกคนลองดูกันสักตั้ง เหมือนที่ผู้เขียนบอกทิ้งท้ายว่า “ทั้งหมดทั้งปวงไม่สำคัญเท่ากับว่า คุณได้ลองทำหรือยัง ถ้าลองทำแล้วยังไม่ได้ผล ก็แค่เลิกเท่านั้นเอง”
สนใจหนังสือ สามารถสั่งซื้อได้ที่นี่ คลิก